นี่เราเป็น ‘โรคซึมเศร้า’ หรือเปล่านะ ?

โรคซึมเศร้า-1

               สวัสดีครับท่านผู้อ่านทุกท่านหลังจากที่เราได้คุยกันถึงเรื่อง “ภาวะหมดไฟ” เมื่อบทความที่แล้ว บทความนี้จึงจะขอนำภาวะที่ใกล้เคียงกันแต่ก็ไม่เหมือนกันซะทีเดียวอย่าง โรคซึมเศร้า มาคุยกันว่า สัญญาณแบบไหนที่กำลังบอกเราว่าเราเสี่ยงต่อโรคนี้แล้ว

               บทความนี้ได้นำข้อมูลบางส่วนมาจากนิตยสารชีวจิตฉบับที่ 550 ในหัวข้อ “Mind issues on Covid-19” มาแชร์ให้เพื่อให้ทุกท่านได้ทราบถึงสถานการณ์โควิด-19 ปัจจุบันที่ส่งผลกระทบต่อความเครียด อัตราการฆ่าตัวตาย และอัตราเสี่ยงการเสียชีวิตจากไวรัสชนิดนี้กันนะครับ ต้องขอขอบคุณนิตยสารชีวจิตมา ณ โอกาสนี้ด้วยครับ

ทำไมเราควรรู้ตัวล่วงหน้าก่อนเป็น โรคซึมเศร้า ?

                 ในทุก ๆ วันที่เราใช้ชีวิตประจำวันกันอยู่นั้น อารมณ์ของคนธรรมดาทั่วไปก็ย่อมต้องมีขึ้นบ้างลงบ้างเป็นธรรมดาเดี๋ยวดีเดี๋ยวร้าย คำถามคือ อารมณ์ต่าง ๆ เกิดขึ้นได้อย่างไร ?

                แน่นอนว่าหากไม่มีเชื้อเพลิง ไฟก็ไม่อาจจุดติดได้ เช่นเดียวกับอารมณ์ หากไม่มีสิ่งภายนอกมากระตุ้นก็ย่อมไม่เปลี่ยนแปลงได้ง่าย ๆ เช่นกัน ยกตัวอย่างเช่น เราหงุดหงิด เนื่องจากอากาศร้อน หรือรู้สึกกลัว ไม่ต้องเดินในทางเปลี่ยว ๆ ยามดึก

                แต่สิ่งที่ทำให้เราผ่านพ้นทุกวันไปได้เป็นอย่างดีก็เพราะเรามีความสามารถในการ “รับมือกับอารมณ์หรือสถานการณ์แย่ ๆ” ได้ดี เช่น เราอาจจะรองรับอารมณ์โกรธของหัวหน้าได้ตั้งแต่เช้า หรือสามารถระงับโทสะที่โดนบีบแตรให้ขณะขับรถกลับบ้าน

                เหล่านี้เองเป็นสิ่งที่คนทั่วไปคือว่าเป็นเรื่องปกติที่เราต้องรับให้ได้กันทั้งนั้น แต่ …. ไม่ใช่กับผู้ป่วยซึมเศร้า

ผู้ป่วยโรคซึมเศร้าจะมีความสามารถในการรับมือกับอารมณ์ลบที่มากระทบได้น้อยลง กล่าวคือเมื่อพบกับสถานการณ์เลวร้าย ผู้ป่วยโรคซึมเศร้าอาจจะรับมือได้ไม่ดีเท่าคนทั่วไป อาจจะแสดงออกมาในลักษณะร้องไห้ง่ายกว่าเดิม โกรธง่ายกว่าเดิม ไม่อยากเผชิญหน้ากับผู้คน หรืออาจเลวร้ายจนกระทั่ง ไม่อยากมีชีวิตอยู่ก็เป็นได้

ผู้ป่วย 'โรคซึมเศร้า' เสียชีวิตจากโควิดมากกว่าคนทั่วไป

โรคซึมเศร้า-3

                  [1] มีข้อมูลที่น่าสนใจชุดหนึ่งที่ตีพิมพ์ในวารสาร JAMA Psychiatry โดยทีมวิจัยของ The University of Marseille ประเทศฝรั่งเศส ระบุว่า ผู้ป่วยจิตเวชที่ติดเชื้อโควิดมีโอกาสเสียชีวิตมากกว่าผู้ติดเชื้อโควิดที่ไม่ได้เป็นโรคทางจิตเวชสูงถึง 1.8 เท่า

                  งานวิจัยชิ้นนี้ได้มาจากการวิเคราะห์การศึกษาวิจัย 16 ฉบับ ซึ่งมีกลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยติดเชื้อโควิดมากกว่า 18,000 คน จาก 7 ประเทศ โดยกลุ่มตัวอย่างประกอบด้วย ผู้ป่วยโรคจิตเภท (Schizophrenia) โรคไบโพลาร์ (Bipolar Disorders) โรควิตกกังวล (Anxiety) ความผิดปกติทางบุคลิกภาพ (Personality Disorders) โรคพฤติกรรมการกินาหารผิดปกติ (Eating disorders) ปัญหาการใช้ยาเสพติด (Substance Abuse Disorders) และภาวะเสพติด (Addiction)

                   ในบรรดาผู้ป่วยโรคทางจิตเวชต่าง ๆ ผู้ป่วยโรคไบโพลาร์มีความเสี่ยงเสียชีวิตสูงสุดคือ 2.3 เท่า เมื่อเทียบกับผู้ติดเชื้อโควิดที่ไม่ได้เป็นโรคทางจิตเวช

                   แม้จะตัดปัจจัยเสี่ยงที่เพิ่มโอกาสเสียชีวิตอื่น ๆ เช่น น้ำหนักเกิน อายุ และปัญหาโรคประจำตัวอื่น ๆ ออกไปแล้ว ผู้ป่วยจิตเวชที่มีอาการรุนแรงก็ยังเป็นกลุ่มที่มีโอกาสเสียชีวิตมากกว่าผู้ติดเชื้อโควิดที่ไม่ได้เป็นโรคทางจิตเวชสูงถึง 1.7 เท่า ขณะที่ถ้าเป็นผู้ป่วยโรคจิตเวชโดยรวมก็ยังมีโอกาสเสียชีวิตสูงกว่าผู้ที่ไม่ได้เป็นโรคจิตเวชสูงขึ้น 1.4 เท่า

                   ดังนั้นหากเรารู้ตัวล่วงหน้าได้ก่อนที่เราจะมีความเสี่ยงเป็นโรคซึมเศร้าหรือโรคจิตเวชต่าง ๆ ได้ เราก็สามารถรักษาได้อย่างทันท่วงนี้และลดความเสี่ยงขอการเสียชีวิตจากการติดเชื้อโควิดได้ แต่อย่างไรก็ตามข้อมูลดังกล่าวนำมาเพื่อแบ่งปันเป็นวิทยาทานเท่านั้น มิได้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้หรือประกอบการใด ๆ ทางวิชาการครับ

เช็คชัวร์ไว้ก่อน อุ่นใจกว่า !

Check list ต่อไปนี้เป็นแบบทดสอบ “ภาวะซึมเศร้า” PHQ-9 (Patient Health Questionnaire) ของคณะแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ซึ่งมีด้วยกัน 9 ข้อดังแสดงด้านล่าง 

โดยวิธีการประเมินนั้นจะเป็นการให้คะแนนแต่ละข้อตามลำดับความถี่โดยเกณฑ์คือ 0 : ไม่เลย, 1 : มีบางวันหรือไม่บ่อย , 2 : มีค่อนข้างบ่อย , 3 : มีเกือบทุกวัน หากท่านใดสนใจทำแบบประเมินสามารถคลิ๊กได้ที่ Link นี้เลยครับ แบบทดสอบภาวะซึมเศร้า PHQ-9 | คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี (mahidol.ac.th)

                 แบบประเมินข้างต้นนั้นเป็นเพียงการประเมินในขั้นต้นเท่านั้น ส่วนการวนิจฉัยที่แน่ชัดจำเป็นต้องพบแพทย์เพื่อซักประวัติ ตรวจร่างกาย รวมถึงส่งตรวจเพิ่มเติมที่จำเป็น เพื่อยืนยันการวินิจฉัยที่แน่นอน รวมถึงคัดแยกโรคและภาวะอื่น ๆ เนื่องจากภาวะซึมเศร้าเป็นจากสาเหตุต่าง ๆ ได้มากมาย เช่น โรคทางจิตเวชที่มีการซึมเศร้าร่วมด้วย หรือโรคทางร่างกายเช่นไทรอยด์ เป็นต้น

                สรุปส่งท้ายในบทนี้ทางสมุนไพรไผ่เงินขอเป็นกำลังใจให้ทุกท่านที่รู้สึกว่าตัวเองเข้าข่ายโรคซึมเศร้าหรือกำลังต่อสู้กับโรคนี้อยู่ ให้มีพละกำลังในการตัดสินใจและมีกำลังใจที่ดีในการรักษาโรคนี้นะครับ เชื่อว่าทุกท่านจะสามารถผ่านเหตุการณ์ร้าย ๆ ไปได้อย่างแน่นอน แล้วพบกันในบทหน้านะครับ สวัสดีครับ

ขอบคุณข้อมูลดี ๆ จาก

[1] ศิริกร โพธิจักร,“Mind” issues on Covid-19 , นิตยสาร ชีวจิต ฉบับที่ 550  , Page 15

[2] แบบทดสอบ ภาวะซึมเศร้า, คณะแพทย์ศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดีมหาวิทยาลัยมหิลhttps://med.mahidol.ac.th/th/depression_risk

แนะนำบทความสำหรับคุณ….

สัญญาณของ “ภาวะหมดไฟ” เป็นอย่างไร ?

นอนหลับ-cover-1

ทำไมถึงต้อง”นอนหลับตรงเวลา” ?

วันนี้จะขอมาแชร์หัวข้อที่มีคนให้ความสนใจเป็นจำนวนมากคือ “การนอนหลับนั่นเอง” เพื่อให้ผู้อ่านทุกท่านได้เข้าใจและตระหนักถึงความสำคัญของการนอน

Read More »
คลื่นเสียงบำบัด

‘คลื่นเสียงบำบัด’ อีกศาสตร์แห่งการผ่อนคลาย

การผ่อนคลายจากความเครียดนั้นทำได้หลายวิธีด้วยกัน แม้ว่าเพิ่งปลดล็อคดาวน์ได้ไม่กี่วัน แต่ครั้นว่าจะให้ออกไปทำกิจกรรมนอกสถานที่หรือออกไปเดินเที่ยวเล่นเหมือนอย่างเคยอาจจะดูเป็นเรื่องอันตรายไปเสียหน่อย ดังนั้นในบทความนี้เราจึงจะมาแนะนำวีธีการผ่อนคลายง่าย ๆ ขอเพียงแค่คุณมีสมาร์ทโฟนและหูฟังที่พอใช้ได้ในระดับหนึ่งเท่านั้นก็เพียงพอแล้ว

Read More »
โรคซึมเศร้า-1

นี่เราเป็น ‘โรคซึมเศร้า’ หรือเปล่านะ ?

ในทุก ๆ วันที่เราใช้ชีวิตประจำวันกันอยู่นั้น อารมณ์ของคนธรรมดาทั่วไปก็ย่อมต้องมีขึ้นบ้างลงบ้างเป็นธรรมดาเดี๋ยวดีเดี๋ยวร้าย คำถามคือ อารมณ์ต่าง ๆ เกิดขึ้นได้อย่างไร ?

Read More »

admin@Acover

See all author post

1 Comment

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are makes.