มารับมือกับ ‘อารมณ์ลบ’ กันดีกว่า

อารมณ์ลบ

                ท่านผู้อ่านเคยเกิดอาการเหล่านี้บ้างไหมครับ บางครั้งเจอเรื่องแย่ ๆ เข้ามากระทบจิตใจเราแล้วทำให้เรารู้สึกไม่พอใจหรือเสียใจ เหตุการณ์เหล่านี้จะส่งผลกระทบต่อไปให้เกิด “อารมณ์ลบ” อื่น ๆ เป็นห่วงโซ่ต่อกันไป

               เช่น วันนี้ที่ออฟฟิศโดนเจ้านายดุมาเพราะเราทำงานพลาด หลังจากเดินออกมาจากออฟฟิศก็รู้สึกหงุดหงิดที่โดนดุมาและรู้สึกโกรธตัวเองที่ทำได้ไม่ดีพอพลานคิดไปว่าเจ้านายต้องไม่พอใจเรามากแล้วแน่ ๆ แล้วงานหน้าเราจะมีโอกาสทำอีกไหม สิ้นปีนี้ต้องโดนประเมินผลต่ำแน่ ๆ เลย อาจจะถึงขั้นคิดไปว่าเราจะโดนไล่ออกไหม

                 ด้านบนเป็นตัวอย่างของความคิดที่เกิดขึ้นกับตัวเอง แต่ก็อาจจะเกิดขึ้นได้เช่นเดียวกันกับสิ่งรอบกายเช่น พอเดินมาถึงโต๊ะทำงานตัวเองแล้วก็รู้สึกว่าของที่เคยว่าไว้ตั้งแต่ตอนเช้าพอทำไมมาถึงตอนนี้รู้สึกมันขัดหูขัดตาไปหมด เสียงคุยโทรศัพท์ของเพื่อนร่วมงานโต๊ะข้าง ๆ ก็ทำให้เรารู้สึกรำคาญ บางทีอาจถึงขั้นหันไปพูดให้เบาเสียงลดหน่อยด้วยความขุ่นเคือง

                จะเห็นได้ว่าการที่มีเหตุการณ์ใดเหตุการหนึ่งเกิดขึ้นมา มักจะส่งผลให้เกิดการตอบสนองต่อสิ่งนั้นในรูปแบบของอารมณ์ แต่อารมณ์นั้นจะตอบสนองอย่างไรนั้นขึ้นอยู่กับสิ่งที่เรียกว่า Mental framework หรือ กรอบการทำงานของจิต เรานั่นเอง

วันนี้ผมจึงจะขอนำบทความจาก Medium ที่เขียนโดย Bandoro Gunaso [1] เรื่อง How to Master Your emotion มาเล่าสู่กันฟังนะครับ

กลไกการเกิดของ 'อารมณ์ลบ'

อารมณ์ลบ

เหตุการณ์ -> กรอบการทำงานของจิต -> อารมณ์

               กรอบการทำงานของจิตเรานั้นเป็นตัวกลางที่คอยจัดการว่าเราควรตีความเหตุการณ์หนึ่ง ๆ ที่เข้ามาว่าต้องแสดงออกทางอารมณ์อย่างไร  นักจิตวิทยาชื่อ คุณ Carol Dweck ผู้แต่งหนังสือเรื่อง Mindset : The New Psychology of Success ได้กล่าวไว้ว่าบุคคลอย่างเราสามารถมีชุดความคิดได้สองแบบคือแบบ Fixed mindset (ชุดความคิดอยู่กับที่) และ Growth mindset ( ชุดความคิดแบบเติบโต) หากเราให้ความที่มีชุดความคิดสองแบบที่ต่างกันนี้ จอเหตุการณ์แบบเดียวกัน ผลลัพธ์ที่ได้จะแตกต่างกันอย่างเช่น :

ความผิดพลาด -> Fixed mindset (ฉันมันโง่เอง) -> รู้สึกเศร้าเสียใจ

ความผิดพลาด -> Growth mindset (นี่ยังไม่ใช่เวลาของฉัน) -> รู้สึกทะเยอทะยานสู้ต่อไป

                ความผิดพลาดนั้นเป็นเรื่องทำธรรมดาที่เราต้องเผชิญกันอยู่ทุกวันอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้บางคนเคยเจอเหตุการณ์แย่ ๆ ในอดีตทำให้มีอารมณ์ที่อ่อนไหวมากการเหตุการณ์ต่าง ๆ อาจจะทำให้เกิด Fixed mindset ก็เป็นได้  ดังนั้นการรับมือกับตัวกลางที่ทำให้เกิดความรู้สึกแย่ ๆ นั้นจะสามารถแก้ไขได้โดยการเรียนรู้ที่จะปรับ Mental framework ของเราเพื่อให้สามารถผ่านเรื่องนี้ไปได้

                ผู้เขียนยกตัวอย่างความคิดที่ว่า “เพราะงานเยอะแบบนี้ไง ฉันถึงไม่สามารถหาเวลาเรียนได้” “ถ้ามีเงินเยอะกว่านี้ ฉันคงเป็นคนที่มีความสุขกว่านี้” “เป็นเพราะความขี้กังวลของฉันแน่ ๆ เลย ที่ทำให้ฉันไม่เติบโตซักที”

                ชุดความคิดแบบนี้เป็นตัวอย่างของการที่เรา “ผูกตัวเอง” ไว้กับความคิดลบ ๆ โดยเอาอดีตมาใช้เป็นตัวชี้วัดผลในอนาคต เช่น ถ้ามีเงินเยอะกว่านี้ (แปลว่าอดีตจนถึงปัจจุบันมีไม่เยอะหรือไม่พอ) ฉันคงเป็นคนที่มีความสุขกว่านี้ (อนาคตที่คาดหวัง) และส่งผลให้เกิดอารมณ์ลบตามมา

               ไม่ผิดที่คนเราจะเกิดชุดความคิดแบบนี้ขึ้นมา เพราะเป็นเรื่องปกติที่เราจะต้องคิดโดยอ้างอิงจากพื้นฐานความรู้ความเข้าใจที่เรามีมาแต่เดิม แต่นั่นไม่ได้ช่วยให้เราพัฒนากรอบการทำงานของจิตได้เลย เพราะอันที่จริงแล้วหากเราลองมองด้านตรงข้ามกัน จะเห็นได้ว่า เงินเยอะขึ้น -> มีความสุขมากขึ้น ได้อย่างเดียวเท่านั้นจริง ๆ หรือไม่ เป็นเพราะเราคิดว่า “เงิน” เป็นสิ่งที่จะทำให้เกิด “ความสุข” อย่างเดียวถูกต้องหรือไม่ อันที่จริงแล้วปัจจัยหลาย ๆ อย่างหากเรา “เพิ่ม” มันเข้าเป็นหนึ่งในปัจจัยที่มีความสุขเราก็สามารถมีความสุขได้

               ตัวอย่างเช่น “หากฉันหาเวลาเรียนได้ซักวันละ 30 นาที ฉันจะเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ ได้” หรือ “หากฉันได้กินช็อคโกแลต ฉันจะมีความสุขมากขึ้น” จะเห็นได้ว่าหากเราแค่เปลี่ยน “เหตุ” จะทำให้ “ผล” ที่ได้ออกมาอีกรูปแบบนึงได้เลยเช่นกัน

              ทั้งหมดนั้นเป็นเพราะเราเลือกที่จะให้มันเป็นแบบนั้นเอง

 

เราเป็นคนประดิษฐ์ 'อารมณ์ลบ' ขึ้นมา

Emotion-pick

             ลองนึกสถานการณ์ที่คุณทะเลาะกับเพื่อนของคุณดูสิครับ เสียงของคุณที่เถียงกับเพื่อนน่าจะเป็นเสียงที่ดุดันและแข็งกร้าวพอสมควร ระหว่างที่การทะเลาะดำเนินไปก็ดันมีโทรศัพท์เข้ามา – นั่นเป็นเจ้านายของคุณเอง

            ทันใดนั้นเสียงคุณที่รับสายเจ้านายก็เปลี่ยนไปทันทีทันใด คุณเริ่มพูดจาไพเราะ น้ำเสียงรื่นหู เต็มไปด้วยความเคารพและความถ่อมตัว พอจบจากการสนทนาคุณก็จะปรับตัวเข้าโหมดพร้อมปะทะกับเพื่อนคุณอีกครั้งเพื่อให้ได้เป็นผู้ชนะใดศึกนี้

             จะเห็นได้ว่าเราเลือกที่จะเปลี่ยนโหมดของอารมณ์ตามสถานการณี่เราเจอได้ เพราะเราอยากเป็นผู้ชนะในสถานการณ์นั้น ๆ อยู่ตลอดเวลา คุณอยากชนะเพื่อนของคุณจึงได้ใส่อารมณ์ลงไปในบทสนทนาผลลัพธ์คือเพื่อนของคุณอาจจะเกรงกลัวและร่นถอยไป หรือคุณต้องการชนะเจ้านายของคุณโดยการแสดงให้เขาเห็นว่าคุณเป็นตัวอ่อนน้อมถ่อนตนเพื่อเอาชนะใจเจ้านายให้ได้

              คนเรามีความสามารถที่จะปรับเปลี่ยนอารมณ์ได้ตาม “เป้าหมาย” ที่เราต้องการ ดังนั้นเราต้องเตือนตัวเองให้รู้อยู่ตลอดเวลาว่าเป้าหมายของเราคือสิ่งใด เราก็จะสามารถปรับเปลี่ยนอารมณ์เพื่อไปสู่เป้าหมายที่ดีกว่าได้นั่นเอง

                สุดท้ายนี้หากมีอารมณ์ขุ่นหมองมาทำให้เราไม่สมารถฉุดตัวเองออกมาได้จริง ๆ แนะนำให้ลองเปลี่ยนกิจกรรมหรือสถานที่ดู เช่น ออกไปเดินเล่นซักพัก, เปิดหน้าต่างสูดอากาศ หรือ ออกกำลังกายเบา ๆ ซัก 5 นาที ก็จะสามารถปรับอารมณ์ของเราให้ดีได้ขึ้นกว่าเดิมครับ

                หวังว่าบทความนี้จะมีประโยชน์กับท่านผู้อ่านนะครับ แล้วเราพบกันใหม่บทความหน้า สวัสดีครับ

บทความแนะนำสำหรับคุณ …

งีบหลับยังไงให้สเชื่นทั้งวัน

นอนหลับ-cover-1

ทำไมถึงต้อง”นอนหลับตรงเวลา” ?

วันนี้จะขอมาแชร์หัวข้อที่มีคนให้ความสนใจเป็นจำนวนมากคือ “การนอนหลับนั่นเอง” เพื่อให้ผู้อ่านทุกท่านได้เข้าใจและตระหนักถึงความสำคัญของการนอน

Read More »
คลื่นเสียงบำบัด

‘คลื่นเสียงบำบัด’ อีกศาสตร์แห่งการผ่อนคลาย

การผ่อนคลายจากความเครียดนั้นทำได้หลายวิธีด้วยกัน แม้ว่าเพิ่งปลดล็อคดาวน์ได้ไม่กี่วัน แต่ครั้นว่าจะให้ออกไปทำกิจกรรมนอกสถานที่หรือออกไปเดินเที่ยวเล่นเหมือนอย่างเคยอาจจะดูเป็นเรื่องอันตรายไปเสียหน่อย ดังนั้นในบทความนี้เราจึงจะมาแนะนำวีธีการผ่อนคลายง่าย ๆ ขอเพียงแค่คุณมีสมาร์ทโฟนและหูฟังที่พอใช้ได้ในระดับหนึ่งเท่านั้นก็เพียงพอแล้ว

Read More »
โรคซึมเศร้า-1

นี่เราเป็น ‘โรคซึมเศร้า’ หรือเปล่านะ ?

ในทุก ๆ วันที่เราใช้ชีวิตประจำวันกันอยู่นั้น อารมณ์ของคนธรรมดาทั่วไปก็ย่อมต้องมีขึ้นบ้างลงบ้างเป็นธรรมดาเดี๋ยวดีเดี๋ยวร้าย คำถามคือ อารมณ์ต่าง ๆ เกิดขึ้นได้อย่างไร ?

Read More »

admin@Acover

See all author post

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are makes.